ความเป็นมาของฝ่ายการศึกษา คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล มหาวิทยาลัยมหิดล ได้จัดตั้งแผนกการศึกษาขึ้นในสำนักงานเลขานุการคณะ ฯ ในปีพ.ศ.๒๕๑๕ โดยมี ศาสตราจารย์ นายแพทย์สมโพธิ พุกกะเวส ดำรงตำแหน่งผู้ช่วยหัวหน้าสำนักงานเลขานุการคณะ ฯ เป็นผู้บุกเบิกและวางรากฐานเพื่อให้งานการศึกษาได้รับการพัฒนาตามนโยบายของคณะ ฯ หลังจากคณะฯ เปลี่ยนโครงสร้างการบริหาร โดยเปลี่ยนชื่อจากสำนักงานเลขานุการคณะฯ มาเป็นสำนักงานคณบดี และตำแหน่งผู้ช่วยหัวหน้าสำนักงานเลขานุการคณะ ฯ ได้เปลี่ยนชื่อเป็นผู้ช่วยคณบดีฝ่ายการศึกษา โดยศาสตราจารย์ นายแพทย์สมโพธิ พุกกะเวส ยังคงรับผิดชอบดูแลงานการศึกษา และแต่งตั้งให้ศาสตราจารย์ นายแพทย์อุกฤษต์ เปล่งวานิช ดำรงตำแหน่งรองผู้ช่วยคณบดีฝ่ายการศึกษา แผนกการศึกษาในขณะนั้นรับผิดชอบดูแลจัดการศึกษาทั้งระดับก่อนและหลังปริญญา โครงการเวชศาสตร์ชุมชน งานพัฒนาอาจารย์ด้านแพทยศาสตรศึกษา และงานประชุมวิชาการ ต่อมาการศึกษาหลังปริญญาและงานประชุมวิชาการได้แยกหน่วยงานออกไปในปีพ.ศ.๒๕๒๑ และพ.ศ.๒๕๒๒ ตามลำดับ ในปีพ.ศ.๒๕๓๒ แผนกการศึกษาได้แยกออกเป็น ๒ งาน โดยมีศาตราจารย์ นายแพทย์ไพบูลย์ สุทธิวรรณ เป็นรองคณบดีฝ่ายบริการการศึกษา และผู้ช่วยศาสตราจารย์ นายแพทย์เอื้อพงศ์ จตุรธำรง เป็นรองคณบดีฝ่ายแพทยศาสตรศึกษา ส่วนงานการศึกษาต่อเนื่อง (การศึกษาหลังปริญญา) มีศาสตราจารย์ นายแพทย์สมหวัง ด่านชัยวิจิตร เป็นรองคณบดีฝ่ายการศึกษาหลังปริญญา ในปีพ.ศ.๒๕๓๔ ศาสตราจารย์ นายแพทย์อรุณ เผ่าสวัสดิ์ คณบดีในขณะนั้น ได้มีการเปลี่ยนแปลงผู้บริหารการศึกษา โดยแต่งตั้งผู้ช่วยศาสตราจารย์ นายแพทย์เอื้อพงศ์ จตุรธำรง ให้ดำรงตำแหน่งรองคณบดีฝ่ายการศึกษา ดูแลการศึกษาทั้งสามงาน ได้แก่ งานบริการการศึกษา งานแพทยศาสตรศึกษา และงานการศึกษาต่อเนื่อง ในปี พ.ศ.๒๕๔๑ สำนักงานการศึกษาทั้งสามงานได้ย้ายที่ทำการจากตึกอำนวยการ ชั้น ๓ ไปอยู่ที่ตึกอดุลยเดชวิกรม ชั้น ๖ ในปีพ.ศ.๒๕๔๗ รองศาสตราจารย์ แพทย์หญิงปรียานุช แย้มวงษ์ ได้รับแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งรองคณบดีฝ่ายการศึกษา และบริหารงานตามโครงสร้างเดิมเดือนตุลาคม ปีพ.ศ.๒๕๔๙ ศาสตราจารย์คลินิก นายแพทย์ปิยะสกล สกลสัตยาทร คณบดีในขณะนั้น ได้เปลี่ยนแปลงผู้บริหารการศึกษาอีกครั้ง โดยแต่งตั้งรองศาสตราจารย์ นายแพทย์สรนิต ศิลธรรม เป็นรองคณบดีฝ่ายการศึกษาก่อนปริญญา รับผิดชอบดูแลงานบริการการศึกษา และงานแพทยศาสตรศึกษา และศาสตราจารย์ นายแพทย์บรรจง มไหสวริยะ เป็นรองคณบดีฝ่ายการศึกษาหลังปริญญา รับผิดชอบดูแลงานการศึกษาต่อเนื่อง เดือนธันวาคม พ.ศ.๒๕๕๐ มีการเปลี่ยนแปลงวาระคณบดี แต่โครงสร้างยังคงเป็นรูปแบบเดิมโดยมีรองศาสตราจารย์ ดร. แพทย์หญิงนิศารัตน์ โอภาสเกียรติกุล ดำรงตำแหน่งรองคณบดีฝ่ายการศึกษาก่อนปริญญา และศาสตราจารย์ นายแพทย์ชัยรัตน์ ฉายากุล ดำรงตำแหน่งรองคณบดีฝ่ายการศึกษาหลังปริญญา เดือนมกราคม พ.ศ.๒๕๕๓ ผู้ช่วยศาสตราจารย์ นายแพทย์มงคล เลาหเพ็ญแสง ได้รับแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งรองคณบดีฝ่ายการศึกษาก่อนปริญญา เมื่อวันที่ ๖ กันยายน พ.ศ.๒๕๕๓ มหาวิทยาลัยมหิดลได้ประกาศเรื่อง การแบ่งหน่วยภายในส่วนงานของมหาวิทยาลัย การศึกษาก่อนปริญญาของคณะฯ จึงปรับโครงสร้างเป็นฝ่ายการศึกษา อยู่ในกำกับของสำนักงานคณบดี วันที่ ๙ ธันวาคม ๒๕๕๔ รองศาสตราจารย์ นายแพทย์รุ่งนิรันดร์ ประดิษฐสุวรรณ ได้รับแต่งตั้งจากศาสตราจารย์คลินิก นายแพทย์อุดม คชินทร คณบดี ให้ดำรงตำแหน่งรองคณบดีฝ่ายการศึกษาก่อนปริญญา จนถึงปัจจุบัน โดยมีผู้ช่วยคณบดีฝ่ายการศึกษาก่อนปริญญา จำนวน ๘ ท่าน ภายใต้การบริหารของศาสตราจารย์ ดร.นายแพทย์ประสิทธิ์ วัฒนาภา คณบดีคนปัจจุบัน ที่เริ่มตั้งแต่วันที่ ๒๒ มกราคม ๒๕๕๘ ดังนี้ ๑. รองศาสตราจารย์ นายแพทย์วันชัย เดชสมฤทธิ์ฤทัย ๒. อาจารย์ ดร. นายแพทย์บดินทร์ ทรัพย์สมบูรณ์ ๓. รองศาสตราจารย์ ดร.นายแพทย์เชิดศักดิ์ ไอรมณีรัตน์ ๔. ผู้ช่วยศาสตราจารย์ นายแพทย์สุประพัฒน์ สนใจพาณิชย์ ๕. รองศาสตราจารย์ ดร. แพทย์หญิงฉันทชา สิทธิจรูญ ๖. ผู้ช่วยศาสตราจารย์ แพทย์หญิงอนัญญา พงษ์ไพบูลย์ ๗. ผู้ช่วยศาสตราจารย์ แพทย์หญิงวีรวดี จันทรนิภาพงศ์ ๘. อาจารย์ ดร. นายแพทย์ยอดยิ่ง แดงประไพ หน้าที่และเป้าหมายที่สำคัญ ขอบข่ายในการดำเนินงานของฝ่ายการศึกษา สอดคล้องกับวิสัยทัศน์ของคณะ ฯ และนโยบายการศึกษาคณะ ฯ เพื่อผลิตบัณฑิต และผู้เชี่ยวชาญเฉพาะด้านการแพทย์และวิทยาศาสตร์ชีวภาพ/สุขภาพ ที่มีคุณลักษณะและทักษะในศตวรรษที่ 21 (21st Century Skills) ถึงพร้อมซึ่งคุณธรรม องค์ความรู้ ทักษะด้านวิชาชีพ และมีวัฒนธรรมศิริราชเป็นพื้นฐาน พร้อมทั้งพัฒนารูปแบบและแนวทางการศึกษาแพทยศาสตร์และวิทยาศาสตร์ชีวภาพ/สุขภาพ เพื่อเพิ่มคุณภาพบัณฑิตโดยอาศัยกระบวนการวิจัยด้านการศึกษา ฝ่ายการศึกษา รับผิดชอบร่วมกับภาควิชา/ศูนย์/สถาน/โรงเรียน จัดการศึกษาในหลักสูตรระดับปริญญาตรีและระดับประกาศนียบัตร ให้เป็นไปตามเกณฑ์มาตรฐานคุณวุฒิระดับอุดมศึกษาแห่งชาติ และตามเกณฑ์มาตรฐานสภาวิชาชีพกำหนด ฝ่ายการศึกษา ประกอบด้วย ๓ งาน ๑ ศูนย์ ได้แก่ งานบริการการศึกษา งานแพทยศาสตรศึกษา และงานธุรการและสนับสนุน และศูนย์ความเป็นเลิศด้านการศึกษาวิทยาศาสตร์สุขภาพโดยมีจำนวนบุคลากรรวม ๑๐๑ คน ๑. งานบริการการศึกษา ประกอบด้วยหน่วยงานภายใน ๓ หน่วยงาน ได้แก่ หน่วยนิเทศสัมพันธ์ หน่วยทะเบียนและประมวลผลการศึกษา และหน่วยบริหารเครือข่ายการศึกษาดังมีรายละเอียดต่อไปนี้ ๑.๑. หน่วยนิเทศสัมพันธ์ รับผิดชอบบริหารจัดการเรื่องการคัดเลือกบุคคลเข้าศึกษาแพทยศาสตร์ (รับสมัคร สอบ สัมภาษณ์ ตรวจร่างกาย) รวบรวม สังเคราะห์ข้อมูลและบริหารจัดการงานนิเทศต่างๆ ให้นักศึกษาแพทย์ทุกระดับชั้น ตลอดจนงานพิธีมอบใบอนุญาตประกอบวิชาชีพเวชกรรม ประสานงานและบริหารจัดการรวบรวมข้อมูล จัดพิมพ์เอกสารและจัดงานต่างๆ เพื่อการประชาสัมพันธ์หลักสูตรต่างๆ ของคณะฯสนับสนุนการดำเนินงานหลักสูตร พ.บ.และหลักสูตรวิทยาศาสตร์สุขภาพ ทั้งในด้านการจัดการเรียนการสอน กิจกรรมประชาสัมพันธ์ และด้านอื่นๆ ที่ได้รับมอบหมายประสานงานด้านการจัดสรร นศพ.ปฏิบัติงานชดใช้ทุน ประสานงานการประชุมระหว่างฝ่ายการศึกษาร่วมกับงานกิจการนักศึกษา ๑.๒. หน่วยทะเบียนและประมวลผลการศึกษา รับผิดชอบการศึกษา วิเคราะห์ จัดทำปฏิทินการศึกษาแพทยศาสตร์บริหารจัดการทะเบียนประวัตินักศึกษาแพทย์ ตรวจสอบ รับรอง นักศึกษาปัจจุบัน และศิษย์เก่าบริหารจัดการ การลงทะเบียนเรียน การจัดกลุ่มนักศึกษาชั้นคลินิกขึ้นปฏิบัติงาน ทุนและรางวัลเรียนดีบริหารจัดการติดตาม รวบรวม ประมวลผลและตัดสินผลการศึกษาแพทยศาสตร์บริหารจัดการแนะแนวการศึกษา ให้แก่ นศพ. และหน่วยงานที่เกี่ยวข้องวิเคราะห์ และวางแผนระบบฐานข้อมูลด้านการศึกษา นำไปสู่การใช้ระบบสารสนเทศบริหารการศึกษาวิเคราะห์ จัดทำข้อมูลตัวชี้วัดด้านการสำเร็จการศึกษา และความพึงพอใจต่อการเรียนการสอนรายวิชาหลักสูตร พ.บ.บริหารจัดการทุนสนับสนุนให้อาจารย์และนักศึกษาเข้าร่วมประชุมวิชาการระดับนานาชาติประสานงานถ่ายทอดกิจกรรมการประชุมวิชาการ Medical Conference ไปยังโรงพยาบาลร่วมสอน ๑.๓. หน่วยบริหารเครือข่ายการศึกษา รับผิดชอบบริหารจัดการเรียนการสอนวิชาเวชศาสตร์ชุมชน รวมถึงดำเนินการออกเยี่ยมบริหารจัดการรายวิชาที่อยู่ใน โรงพยาบาลร่วมสอน ประสานงานโรงพยาบาลสมทบ เช่น โรงพยาบาลศูนย์ราชบุรี บริหารจัดการและประสานงานการออกเยี่ยมสำรวจโครงการแพทย์เพิ่มพูนทักษะ บริหารจัดการแบบประเมิน เก็บรวบรวมวิเคราะห์ สังเคราะห์ข้อมูล เขียนรายงานผลการประเมินบัณฑิตแพทย์ ผู้ใช้บัณฑิต ผู้ปกครอง ตามเกณฑ์มาตรฐานตัวชี้วัด KPI ต่างๆบริหารจัดการฐานข้อมูลบัณทิตแพทย์/ผู้ใช้บัณฑิตเพื่อนำข้อมูลเข้าระบบสารสนเทศของคณะฯ และมหาวิทยาลัยประสานงานโครงการผลิตแพทย์เพิ่ม๒. งานแพทยศาสตรศึกษา ประกอบด้วย ๔ หน่วยงาน ได้แก่ หน่วยสนับสนุนการเรียนการสอนและประเมินผล หน่วยหลักสูตรและประกันคุณภาพการศึกษา หน่วยสารสนเทศ สื่อและนวัตกรรมและหน่วยโสตทัศนูปกรณ์ ดังมีรายละเอียดต่อไปนี้ ๒.๑. หน่วยสนับสนุนการเรียนการสอนและประเมินผล รับผิดชอบเกี่ยวกับกิจกรรมการเรียนการสอนของ นศพ.ชั้นปีที่ ๒, ๓, ๔, ๕, ๖ประสานงานการประชุมคณะกรรมการพัฒนาการเรียนการสอนหลักสูตร พ.บ. รับผิดชอบประสานงานเกี่ยวกับการจัดสอบประมวลความรอบรู้และคลังข้อสอบ MCQ, MEQ, Long case และ OSCEจัดพิมพ์ข้อสอบ ตรวจข้อสอบและวิเคราะห์ข้อสอบโดยโปรแกรมสำเร็จรูปรับผิดชอบประสานงานรายวิชาเลือกเสรี นศพ.ชั้นคลินิก ๒.๒. หน่วยหลักสูตรและประกันคุณภาพการศึกษา รับผิดชอบการเก็บข้อมูล จัดทำฐานข้อมูล วิเคราะห์ รายงานผลตัวชี้วัดต่างๆ ตามมาตรฐานการประเมินคุณภาพทางการศึกษาของคณะฯ/ PA/ Corporate KPI/ strategic KPIและรวบรวมข้อมูลและจัดทำรายงานผลการดำเนินการด้านการศึกษาของคณะฯติดตามและรายงานผลการจัดการความเสี่ยงด้านการศึกษาและติดตามและรายงานผลการปฏิบัติงานด้านการศึกษา (Performance Agreement)ประสานงาน และดำเนินการทบทวน/แก้ไขมาตรฐานคุณวุฒิ ระดับปริญญาตรี สาขาวิชาแพทยศาสตรบัณฑิตของ กสพท.มคอ. ๑ สาขา พ.บ.และเอกสารที่เกี่ยวข้องติดตาม รวบรวม แก้ไข รายละเอียดของรายวิชา (มคอ.๓) และรายละเอียดของประสบการณ์ภาคสนาม (มคอ.๔) ของทุกรายวิชาในหลักสูตร พ.บ. หลังสิ้นสุดปีการศึกษาติดตาม รวบรวม แก้ไข รายงานผลดำเนินการของรายวิชา (มคอ.๕) และรายงานผลการดำเนินการการของประสบการณ์ภาคสนาม (มคอ.๖)ในหลักสูตร พ.บ. หลังสิ้นสุดภาคการศึกษาดำเนินการรวบรวมเอกสาร ข้อมูล ผลการจัดการศึกษาหลักสูตร พ.บ. เพื่อจัดทำ รายงานผลการดำเนินการของหลักสูตร มคอ. ๗ หลังจบปีการศึกษา ส่งมหาวิทยาลัยบริหารจัดการ ประสานงาน การประชุมคณะกรรมการพัฒนาหลักสูตร คณะกรรมการบริหารหลักสูตรคณะกรรมการรายวิชาระดับปรีคลินิก คณะอนุกรรมการบริหารการศึกษาระดับปรีคลินิก คณะอนุกรรมการบริหารการศึกษาระดับคลินิกจัดกิจกรรมการจัดการความรู้ด้านการศึกษา (KM) ๒.๓. หน่วยสารสนเทศ สื่อและนวัตกรรม รับผิดชอบการแก้ไขปัญหาเครื่องคอมพิวเตอร์และความขัดข้องของโปรแกรมประยุกต์ต่างๆ ภายในฝ่ายการศึกษาและ computer สำหรับการเรียนการสอนของนักศึกษาพัฒนาโปรแกรมคอมพิวเตอร์ applicationเพื่อรองรับการปฏิบัติงานของฝ่ายการศึกษา และการเรียนการสอนเป็นที่ปรึกษาด้าน IT แก่หน่วยงานภายนอกเช่น กสพท, ศรว.ผลิตนวัตกรรม/สื่อการศึกษา ๒.๔. หน่วยโสตทัศนูปกรณ์ ทำหน้าที่บริการ/ควบคุมดูแลระบบโสตห้องเรียนและห้องปฏิบัติการในการประชุม สัมมนาทั้งภายในและภายนอกคณะฯ บริการติดตั้งสื่อ Projector, Visualizer และอุปกรณ์ต่อพ่วงการเรียนการสอนนักศึกษาแพทย์และหลักสูตรวิทยาศาสตร์สุขภาพ ให้คำปรึกษาแนะนำการแก้ปัญหา การใช้งาน สื่อโสตทัศนูปกรณ์แก่หน่วยงานอื่นๆกำหนดคุณลักษณะระบบภาพ เสียงครุภัณฑ์ของคณะฯ บริหารจัดการระบบห้องเรียนและห้องประชุมให้เพียงพอกับการใช้งานของการเรียนการสอน และการประชุม๓. งานธุรการและสนับสนุน ประกอบด้วย ๒ หน่วยงาน ได้แก่ หน่วยธุรการและหน่วยสนับสนุนเอกสารและสถานที่ ดังมีรายละเอียดต่อไปนี้ ๓.๑. หน่วยธุรการ รับผิดชอบดำเนินการด้านงานธุรการทั่วไปของฝ่ายการศึกษาบริหารจัดการด้านการจัดซื้อ/จัดจ้างพัสดุและครุภัณฑ์ และประสานงานด้านการวางแผนงบประมาณของฝ่ายการศึกษาดำเนินการด้านการเบิกจ่ายโครงการการต่างๆ และค่าใช้จ่ายด้านการศึกษา กลั่นกรองเอกสารที่นำเสนอต่อผู้บริหารและบริหารจัดการตารางการนัดหมายของผู้บริหารประสานงานการประชุมพร้อมทั้งจัดเตรียมเอกสาร/ข้อมูล และอำนวยความสะดวกในการประชุมรับผิดชอบงานด้านบุคคลของฝ่ายการศึกษา ๓.๒. หน่วยสนับสนุนเอกสารและสถานที่ รับผิดชอบงานด้านการผลิตเอกสารการเรียนการสอนงานด้านการความสะอาดห้องเรียน สำนักงาน และอุปกรณ์การเรียนการสอน สนับสนุนการจัดสถานที่เรียน ห้อง ประชุม และห้องสอบของทั้งภายในและภายนอกคณะฯสนับสนุนงานและกิจกรรมต่างๆ ของหน่วยงานในฝ่ายการศึกษา จัดเตรียมอาหารเครื่องดื่มสำหรับการประชุมและการจัดสอบของคณะฯ รวมถึงการประชุมและการจัดสอบของสถาบันภายนอก ๔. ศูนย์ความเป็นเลิศด้านการศึกษาวิทยาศาสตร์สุขภาพ มีหน้าที่ จัดบริการวิชาการ สนับสนุนวิจัยการศึกษา และจัดการหลักสูตรวิทยาศาสตรมหาบัณฑิตสาขาวิชาการศึกษาวิทยาศาสตร์สุขภาพ Go Back